วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

วิธีดูแลสุขภาพผมกับหน้าหนาว

เมื่อหน้าหนาวมาเยือน หลายๆท่านอาจเป็นกังวลกับปัญหารังแคกวนใจ หรือบางท่านต้องตกใจเมื่อผมที่เคยแข็งแรงกับร่วงจนต้องตกใจ
ศูนย์วิจัยและดูแลสุขภาพผม Jiva ขอแนะนำ วิธีดูแลสุขภาพผมกับหน้าหนาว ให้ท่านดูแลผมอย่างถูกวิธี

การสระผม

•ควรสระผมด้วยแชมพูอ่อนที่ปลอดสารเคมีตกค้าง หลีกเลี่ยงการใช้แชมพูที่ผสมสารเคมีที่มีฤทธิ์ชะล้างรุนแรงและมีความเป็นด่างสูง เช่น โซเดียม ลอริล ซัลเฟต (Sodium lauryl sulfate; SLS) ซึ่งให้ฟองได้มาก ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อหนังศีรษะ ตกค้างสะสมและทำลายเซลผม(รวมถึงรากผม เซลสร้างเม็ดสี และเส้นผม) และเซลผิวหนัง เมื่อใช้บ่อยๆผมจะยิ่งกระด้าง แห้ง แข็งเป็นไม้กวาด เริ่มหวีไม่อยู่ทรง บางรายเกิดการระคายเคืองเซลผิวหนังชั้นหนังกำพร้าทำให้เกิดเป็น รังแค
•ไม่ควรใช้น้ำอุ่นในการสระผม น้ำอุ่นทำให้ต่อมรากผมขยายและสูญเสียน้ำมันตามธรรมชาติไป ทำให้ผมแห้ง หยาบ กระด้าง และทำให้หนังศีรษะแห้ง เป็นรังแคได้

การดูแลเส้นผม

•ไม่เช็ดขยี้ผมด้วยผ้าหรือหวีผมแรงๆขณะที่ผมเปียก เพราะจะทำให้ผมอ่อนที่กำลังงอกใหม่หรือผมที่รากผมไม่แข็งแรงหลุดร่วงได้ง่าย
•ไม่ควรใช้ความร้อนเป่าผม หากจำเป็นควรเป่าโดยให้ใช้ลมเย็นหรือลมอุ่น(ไม่ร้อนจัด) ขนานกับผิวของหนังศีรษะ
•ไม่ออกแรงใดๆกับเส้นผมหรือหนังศีรษะ เช่นดึงผม หวีผมแรงๆ หรือถูนวดศีรษะอย่างแรงด้วยปลายนิ้วแบบวนก้นหอย (ให้ใช้ฝ่ามือกดคลึงเบาๆ ในกรณีที่ต้องการเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต)
•หวีผมตามแนวเส้นผมด้วยหวีซี่ไม่ถี่เกินไป
•ควรหวีผมด้วยหวีไม้หรือหวีเขาควาย ที่ไม่ก่อให้เกิดไฟฟ้าสถิตซึ่งมักเกิดจากการใช้หวีพลาสติกหรือหวีโลหะ
•ไม่รัด รวบ ถักเปีย หรือม้วนผมแน่นเกินไปและไม่ยีผม
•ไม่ควรใช้เล็บเกาหนังศีรษะ อาจทำให้เป็นแผล ติดเชื้อโรค หรือเกิดการระคายเคืองหนังศีรษะ หากเกิดอาการคันให้ใช้การกดนวดอยู่กับที่แทน
•หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เซลเสื่อม อาทิเช่น ความเครียด แสงแดดจัด หรือสารเคมีรุนแรง เช่น น้ำที่มีคลอรีนสูง ยาย้อม(โกรกผม)ยากัดสีผม ยาดัดผม น้ำยาทำสีผมหรือน้ำยายืดผม

สุขลักษณะในการเลือกรับประทานอาหาร

•หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำให้เสี่ยงต่อผมร่วง เช่นอาหารรสเผ็ดร้อนหรือเค็มจัด กระถิน ไก่ที่ฉีดฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต ช็อกโกแลต ชีส แอลกอฮอล์ ผงชูรส เนย (ควรกินเนยบริสุทธิ์ที่เรียกว่า “เนยกี (Ghee)” จะดีกว่า)
•ควรรับประทานอาหารที่เสริมสร้างบำรุงผม และมีสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) ประเภท
- อาหารจำพวก ผัก ผลไม้ และควรดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านกระบวนการขัดสี
- อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินอี วิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน เช่น มะขามป้อม ส้ม ฝรั่ง
วีทเจิร์ม อัลมอนด์ ถั่วต่าง ๆ น้ำมันพืช งาดำ(คั่วบด) ถั่วดำ ฟักทอง แครอท มะละกอ และเผือก

หมายเหตุ : วิตามินเอ หากรับประทานมากเกินอาจทำให้ผมร่วงได้
- ผักที่มีรสขม โดยเฉพาะ สะเดา มะระ ใบยอ ใบย่านาง บอระเพ็ด ใบปอ
- โปรตีน เช่น เต้าหู้ สาหร่าย ไข่
- แร่ธาตุ เช่น สังกะสี ไบโอติน ธาตุเหล็ก ทองแดง โครเมียม (พบมากใน Brewer’s Yeast)

การปฏิบัติตนทั่วไป

•หลีกเลี่ยงการสะสมของธาตุไฟ ซึ่งทำให้เกิดเซลเสื่อมสภาพ อันเป็นสาเหตุของผมร่วง ผมหงอก เช่น การนอนดึกเกิน 4 ทุ่ม ความโกรธ ความเครียด การรับประทานอาหารรสจัดและการมีเพศสัมพันธ์เกินควร
•งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
•ควรนอนศีรษะต่ำ(ไม่หนุนหมอนสูง) หรือยกเท้าขึ้นสูงกว่าศีรษะชั่วขณะ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงได้ทั่วศีรษะ
•การอบไอน้ำที่อุณหภูมิสูงบ่อยๆจะทำให้ผมเสียหรือหลุดร่วงได้ หากทำการหมักด้วยสมุนไพรควรคลุมด้วยหมวกอาบน้ำทิ้งไว้ 10-30 นาที ก็อุ่นเพียงพอแล้ว
•กดนวด (โดยไม่ถู) ศีรษะบ่อย ๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และทำให้เซลผมเจริญเติบโตได้ดี

ข้อแนะนำเครื่องดื่มดูแลผม
สำหรับท่าน ที่มีปัญหาสุขภาพผม ผมร่วง ผมบาง แนะนำให้ดื่มน้ำมะพร้าว (อย่างน้อยวันละ 1 ลูก) น้ำคั้นมะเฟืองสด น้ำคั้นใบบัวบกสด หรือทานเป็นผลสด ใบสด ก็ได้ ปริมาณเท่าที่รู้สึกพอดี แล้วหยุดเว้นช่วงตามความเหมาะสม หากรับประทานหรือดื่ม มากเกินไปจะทำให้ร่างกายเย็น (หยิน) สังเกตได้จากอาการปวดในกระดูก ปวดบั้นเอว

ประโยชน์

•ลดธาตุไฟ
•เพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน
•ล้างเลือดให้ไม่ข้น (ตามตำรับไทยโบราณ ไม่มีข้อพิสูจน์)
ผลที่ได้รับ

•ทำให้ผมร่วงน้อยลง ผมเงางามขึ้น


from cheewajit.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น